~Welcome to my blogger!!

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555



อาเซียน




ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
แต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” >>ไปที่ thai-aec.com<<
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
  

    
วัดบางแคน้อย




      วัดบางแคน้อยตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง คุณหญิงจุ้ย (น้อย) วงศาโรจน์ เป็นผู้สร้างเมือ พ.ศ.2441 เดิมอุโบสถของวัดสร้างบนแพไม้ไผ่ผูกไว้กับต้นโพธิ์ ต่อมาพระอธิการรอด เจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ได้สร้างอุโบสถบนพื้นดิน ในปี พ.ศ.2418 ต่อมาอุโบสถหลังเดิมได้ชำรุดทรุดโทรม พระอธิการเขียว เจ้าอาวาสองค์ที่ 6 ได้สร้างอุโบสถขึ้นใหม่ ใรปี พ.ศ.2492 จนกระทั่งปี พ.ศ.2540 อุโบสถหลังเดิมเกิดชำรุดอีก เนื่องจากขาดแคลนวัสดุและคุณภาพเพราะตอนสร้างอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระครูสมุทรนันทคุณ (แพร) จึงได้ดำเนินการสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น
      อุโบสถภายในไม้สักแกะสลัก
การแกะสลักที่ที่น่าสนใจ และหาดูได้ยาก เนื่องจากต้องใช้งบประมาณ เวลาและฝีมือการแกะสลักที่ปราณีตบรรจง โดยใช้ช่างที่มีความชำนาญ
- ไม้มะค่าโมงซึ่งใช้เป็นแท่นรองพระประธานมีขนาดใหญ่มาก คือกว้าง 2 เมตรครึ่ง ยาว 3 เมตร หนา 4 นิ้ว
- ชุกชีพระประธานเป็นไม้แกะสลักในทรงจอมแห
- พื้นอุโบสถปูด้วยไม้ตะเคียนทอง หนา 2 นิ้ว กว้าง 40-44 นิ้ว
- ฝาผนังพื้นเป็นไม้แกะสลัก หนา 3 นิ้ว แกะสลักเป็นรูปคน สัตว์ ต้นไม้ และแกะเสริม รวมหนาถึง 6 นิ้ว
- ฝาผนังด้านตรงข้ามพระประธานเป็นไม้แกะสลักรูปปางชนะมาร
- ฝาผนังด้านซ้าย ขวา ของพระประธานเป็นไม้แกะสลักรูปพระเจ้าสิบชาติ
- ฝาผนังด้านหลังพระประธานเป็นไม้แกะสลัก การประสูติ ตรัสรู้ นิพพาน
- ฝาผนังใต้ธรณีหน้าต่าง 2 ข้าง แกะสลักฝังด้วยไม้โมกมันรูปพระเวสสันดร จั่วด้านหน้าและหลังเป็นไม้แกะสลัก ด้านข้างทั้งสองเป็นคูหาหลงรักปิดทอง คันทวยเป็นไม้ลงรักปิดทอง
          จากรายละเอียดดังกล่าว จะเห็นได้ว่า เป็นอุโบสถที่มีความสวยงาม มีคุณค่าทางด้านศิลปะเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะช่างแกะสลัก เป็นช่างฝีมือจากเพชรบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านแกะสลักไม้เป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงถือว่าอุโบสถวัดบางแคน้อยเป็นศิลปะสถานที่มีคุณค่ามาก และถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดสมุทรสงครามอีกด้วย
          นอกจากนี้ทางวัดได้จัดสร้างบุษบงแท่นวัชรอาสน เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ และภายในกุฏิยังมีหุ่นขี้ผึ้งของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี อีกด้ว



“เศรษฐกิจพอเพียง” สมดุล แห่งชีวิต

       
       
       ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญาที่พระราชทานให้คนไทยใช้เป็นหลักคิดและหลัก ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิต ในครอบครัว ในโรงเรียน ในประเทศ โดยตั้งสมมุติ-ฐาน ที่ว่าทุกสิ่งอนิจจัง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงมาจากนอกประเทศ กับในประเทศ นอกโรงเรียนกับในโรงเรียน นอกครอบครัวกับในครอบครัว
       แล้วทรงชี้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และทางวัฒนธรรม ผลกระทบทางวัตถุ อาจจะหมายถึงทางเศรษฐกิจทางการเงินก็ได้ ส่วนผลกระทบ ทางสังคม ให้นึกถึงความเข้มแข็งของโรงเรียนของท่าน ที่ไม่มีเด็กติดยาเสพติด เลย หมายถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพ สังคมของโรงเรียนเข้มแข็ง หรือพูดถึงครอบ ครัวครูที่ไม่มีหนี้เลย ก็หมายถึงว่าสังคมครอบครัวเข้มแข็ง ส่วนผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมที่ชัดเจนคือเรื่องความสะอาด ความมีวินัย เช่น การรักษาต้นไม้ การปลูก ต้นไม้ให้เด็กได้ร่มในโรงเรียน ห้องส้วมสะอาด ขณะที่ผลกระทบทางวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมจากนอกประเทศที่จะเข้ามาทำลายวัฒนธรรมไทย จึงต้องรักษา วัฒนธรรมของเราให้เข้มแข็





ที่มา : http://www.eschool.su.ac.th/admin/articleadm.php?no=40&code=y